วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาสัปดาห์ที่2

การป้องกันอันตรายที่มีผลต่อฟัน

1. ไม่ใช้ฟันกัดหรือฉีกสิ่งของ เช่น ใช้ฟันฉีกถุงพลาสติก ใช้ฟันเปิดจุกขวด เพราะอาจทำให้ฟันบิ่น แตก หรือโยกได้
            2. ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันแคะฟันเพราะจะทำให้ เหงือกร่น ฟันห่างทำให้เศษอาหารยิ่งติดตามซอก ฟันมากขึ้นวิธีที่ดีเมื่อมีเศษอาหารติดร่องฟันควร ใช้ไหมขัดฟันช่วยขจัดเศษอาหารตามซอกฟัน
           3. เมื่อฟันน้ำนมโยกทำให้ปวดฟันขณะรักประทานอาหารหรือแปรงฟัน จึงควรไปพบหมอฟัน
            4. ระมัดระวังการเล่น เช่น ขณะเล่นควรระวังไม่ให้ฟันไปกระทบกับของแข็ง เพราะอาจทำให้ฟันโยก หรือฟันหักได้








เนื้อหาสัปดาห์ที่1

การแปรงฟันอย่างถูกวิธี


ความสำคัญของการแปรงฟัน

การแปรงฟันเป็นการป้องกันฟันผุ เพราะการแปรงฟันที่ถูกวิธีจะทำให้เศษอาหารที่ติดค้างตามซอกฟันและคราบต่าง ๆ ที่ติดอยู่ตามฟันหลุดออกมาด้วย จึงทำให้ปากและฟันสะอาด

การแปรงฟันอย่างถูกวิธี

นอกจากการแปรงฟันหลังอาหาร หรือแปรงหันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งแล้ว ยังจำเป็นต้องแปรงฟันอย่างถูกวิธีเพื่อการมีสุขภาพฟันที่ดีวิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธีมีดังนี้

วิธีการแปรงฟันบน
       โดยวิธี ขยับ-ปัด (Modified Bass Technic) ในทุกบริเวณ ยกเส้นฟันหน้าบนด้านเพดาน และฟันหน้าล่างด้านลิ้น ซึ่งอาจใช้วิธี กด-ดึง-ปัด (Roll Technic) โดยเปลี่ยนให้แนวของด้ามแปรงสีฟัน ขนานกับแนวของซี่ฟันหน้าบนบริเวณนั้น กดปลายขนแปรงส่วนสุดท้าย ให้แนวกับบริเวณคอฟัน แล้วดึงแปรงลงมา โดยให้ขนแปรงสัมผัสกับผิวฟันตลอด สำหรับฟันบน หรือดึงขึ้นบนสำหรับฟันล่าง



ภาพแสดงการแปรงฟันบน


การแปรงฟันกรามบนด้านแก้ม ด้านเพดานปาก และฟันหน้าด้านริมฝีปาก (ใช้วิธีขยับ-ปัด) ให้เอียงแปรงสีฟันเข้าหาเหงือกประมาณ 45 องศาปลายของขนแปรงจะแทรกเข้าไปในร่องเหงือก ได้เล็กน้อยออกแรงถูแปรงไปมาสั้นๆ 3-4 ครั้ง แล้วปัดแปรงสีฟันเข้าหาตัวฟัน ลงไปด้านปลายฟัน ทำเช่นนี้ 5-6 ครั้ง


สัปดาห์ที่ 1

       กิจกรรมการเรียน
          1.  ทำแบบทดสอบก่อนเรียนโดยใช้ weblog
         2. ให้นักเรียนจับคู่ แล้วยืนหันหน้าเข้าหาเพื่อน อ้าปากและยิงฟันให้เพื่อนดู เพื่อสังเกตว่าเป็นอย่างไรบ้าง
         3. ให้นักเรียนใช้มือข้างใดข้างหนึ่งป้องปากและจมูก จากนั้น หายใจออกทางปากพร้อมกบสูดลมหายใจเข้าทางจมูกทันที แล้วตรวจสอบว่า นักเรียนมีกลิ่นปากหรือไม่                                                                                              
        4. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปลักษณะโดยทั่วไปภายในช่องปากและฟันว่า ภายในช่องปากประกอบไปด้วยอะไรบ้าง สีของฟัน และสภาพฟันเป็น อย่างไรบ้าง เป็นต้น 
         5. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 – 5 คน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนในการแปรงฟันที่ถูกวิธี แล้วให้แต่ละกลุ่มผลัดกันออกมาแสดงการแปรงฟันที่หน้าชั้น ให้เพื่อนต่างกลุ่มตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้น ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปวิธีการแปรงฟังที่ถูกวิธีแล้วบันทึกในใบงานที่ 1-2            
       6. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี โดยครูเขียนสรุปเป็นข้อ ๆ บนกระดาน

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

พระราชวังชางด๊อกกุง

พระราชวังชางด๊อกกุง



พระราชวังชางด๊อกกุง หรือ พระราชวังชางด๊อก หนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดในสาธารณรัฐเกาหลี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจงแห่งราชวงศ์โชซอน เมื่อปี พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405) แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1955 (ค.ศ. 1412) ด้วยเหตุที่พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังเคียงบก (Kyeongbok Palace) ผู้คนจึงเรียกพระราชวังแห่งนี้ว่าพระราชวังตะวันออก (East Palace) ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าซอนโจ กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งโชซอนได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหญ้าของพระราชวังเป็น 500,000 ตารางเมตร
ในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) ขุนศึกญี่ปุ่น โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิได้เข้ารุกรานเกาหลี กินเวลายาวนานถึง 7 ปี พร้อมกับเผาทำลายพระราชวัง ซึ่งในปีนี้เองเป็นปีที่ฉลองครบรอบ 200 ปีแห่งการสถาปนาราชวงศ์ โดยหลังจากผ่านสงคราม 7 ปีไปแล้ว พระราชวังก็ได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1619) โดยพระเจ้าซอนโจ และองค์ชายควางแฮกุน แต่อีก 4 ปีต่อมา พระราชวังกลับเกิดเพลิงเผาวอดอีกครั้งในเหตุจราจลที่ขุนนางไม่พอใจองค์ชายควางแฮและก่อการยึดอำนาจ สถาปนาองค์ชายนึงยางขึ้นเป็นพระเจ้าอินโจ พร้อมกับเนรเทศองค์ชายควางแฮไปเกาะคังฮวา จนพระราชวังถูกโจมตีอีกครั้งจากจักรวรรดิชิง (ประเทศจีน) แต่หลังจากนั้นพระราชวังก็ได้รับการสร้างใหม่ให้อยู่ในสภาพดั้งเดิม
พระราชวังชางด๊อกกุง ได้ถูกใช้เป็นที่ประทับขององค์กษัตริย์ ที่ว่าราชการ และที่ทำงานของขุนนางจนถึงปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อพระราชวังเคียงบกซึ่งอยู่ข้างเคียงได้รับการสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งโดยสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง (จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิเกาหลี) แต่อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงนี้ก็ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังชางด๊อกกุงเรื่อยมากระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926)
โซล บีวอน
อย่างไรก็ตาม บรรดาสมาชิกราชวงศ์ลี (ราชวงศ์จักรพรรดิเกาหลี) ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันซึ่งยังไม่มีสถานะเป็นประมุแห่งรัฐอย่างเป็นทางการนั้น หากในอนาคตสถาบันจักรพรรดิเกาหลีถูกฟื้นขึ้นในฐานะสัญลักษณ์แห่งรัฐ (ระบอบประชาธิปไตยอันมีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข) พระราชวังแห่งนี้น่าจะเป็นสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อการขึ้นเสวยราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิ


                                                  ซอนจองชอน




                                                    ฮึยจองดัง


                                                ชูฮัมนู(คยูจังกัก)

พระราชวังชางด๊อกกุงได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 21 เมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่เนเปิลส์ ประเทศอิตาลี โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ